กองการศึกษา
โอทอป สินค้าชุมชน
สถานที่ท่องเที่ยว
กระดานเสวนา
ติดต่อ-สอบถาม
หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนย์ข้อมูล
Data Center
 
  องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ :www.thepruksa.go.th
 
 



ภาพข่าวกิจกรรม
 


เทศกาลเนื่องในวันเข้าพรรษา


การหล่อเทียนพรรษา
การหล่อเทียนพรรษาเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธีหล่อเทียน จัดเป็นพระราชกุศล และเป็นงานบุญทั่วไปของชาวบ้านอีกด้วย โดยกำหนดจัดงานราชพิธีหล่อเทียนขึ้นในเดือน ๘ ของทุกปี ก่อน เข้าพรรษาสมัยนั้นการหล่อเทียนใช้หล่อด้วยขี้ผึ้งทั้งสิ้น ในปีหนึ่ง ๆ จะใช้ขี้ผึ้งเป็นจำนวนมากทั้งนี้เนื่องจากบรรดาวัดต่าง ๆ ที่เป็น วัดหลวงทุกวัด จะได้รับพระราชทานเทียนพรรษาวัดละ ๑ เล่ม หรือมากกว่านั้นทุก ๆ วัด จำนวนเทียนที่หล่อจึงมีมากขึ้น
กล่าวกันว่าประมาณปลายรัชการที่ ๓ ต้องหล่อเทียนจำนวนถึง ๒๐๐ เล่ม จึงจะมีจำนวนมากพอที่จะนำไปถวายวัดต่าง ๆ ได้ อย่างทั่วถึง ซึ่งการหล่อเทียนแต่ละเล่มสมัยนั้น ต้องใช้ขี้ผึ้งในการหล่อเทียนหนักถึง ๑๖ ชั่ง ปีหนึ่ง ๆ จะใช้ขี้ผึ้งจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อถึง เวลาที่หล่อเทียนทางสำนักพระราชวัง จำบอกบุญไปยังพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เจ้าภาษี นายอากร และ ขุนนางฝ่ายต่าง ๆ เป็นต้น ให้นำขี้ผึ้งมาช่วยกันหล่อเทียน จึงสำเร็จลงได้
มูลเหตุที่ต้องมีการหล่อเทียนนั้นก็เนื่องมาจากในฤดูฝน หรือที่เรียกกันว่า "ฤดูการเข้าพรรษา" คือช่วงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ นั้น กำหนดให้พระภิกษุทั้งหลายต้องเข้าอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดระยะเวลา ๓ เดือน พระภิกษุสงฆ์ที่ต้อง อยู่จำพรรษาในพระอารามระหว่างนั้นมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำ มีความจำเป็นต้องใช้เทียนไว้สำหรับ จุดบูชาให้ตลอดพรรษา พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันหล่อเทียน สำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ได้จุดบูชาตลอด ๓ เดือนของกำหนดเวลาเข้าพรรษา จึงเรียกเทียนที่หล่อ ขึ้นนี้ว่า "เทียนพรรษา" หรือ "เทียนจำนำพรรษา"
เมื่อหล่อเทียนในวันรุ่งขึ้นจะจัดขบวนแห่นำไปถวาย ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อเป็นพุทธบูชาและ ในวันนั้นมีการทำบุญร่วมกัน ตักบาตร ถวายพระภิกษุสงฆ์ แสดงความศรัทธาโดยพร้อมเพรียงกัน
งานทำบุญหล่อเทียน และถวายเทียนพรรษานับเป็นประเพณีที่ดีงามสมควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จะได้ช่วยกันรักษา ประเพณีนี้ไว้ให้คงอยู่สืบไปชั่วกาลนาน
อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุ ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า เหมือนดังแสงเทียนที่สว่างในยามค่ำคืน ซึ่งพระภิกษุสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจของสงฆ์
ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษาเป็นประเพณีที่กระทำกันตั้งแต่โบราณกาล จนกระทั่งทุกวันนี้
การหล่อเทียนเข้าพรรษามีอยู่เป็นประจำทุกปี คือ เมื่อใกล้ถึงฤดูกาลเข้าพรรษาตาม พุทธานุญาต ให้บรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายต้องเข้าประจำพรรษาในอารามนั้นๆมิให้เที่ยวจาริกไปในที่อื่นๆ
ในการเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำ และในการนี้จะต้องมีธูปเทียนบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุจุดบูชาเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูน ปัญญาหูตาสว่างไสวเมื่อหล่อเสร็จแล้วก็มีการแห่แหนตามประเพณีรอบพระอุโบสถ เวียน ๓ รอบ แล้วนำไปจุดบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน เป็น ปทีเปยฺยํ
ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษา ทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก บางแห่งมีการประกวดการตกแต่งประเภทต่างๆ มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตร ถวายพระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมการกุศลกันในหมู่บ้านนั้นๆ ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการจัดงานตามชนบทต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นการร่วมศรัทธากันอย่างพร้อมเพรียง
ในกรุงเทพฯ ก็มีเป็นบางวัดเท่านั้นที่จัดกันอยู่ ความจริงแล้วการให้ทานด้วยแสงสว่าง ก็เป็นอานิสงส์อย่างหนึ่ง ไม่แพ้การบุญกุศลใดๆทั้งสิ้น ควรที่พุทธศาสนิกชนจะได้ร่วมศรัทธากัน และช่วยกันทำบุญเพื่อให้ประเพณีอันดีนี้คงอยู่สืบไปชั่วกาลนาน
การหล่อเทียนพรรษา
การหล่อเทียนพรรษาเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธีหล่อเทียน จัดเป็นพระราชกุศล และเป็นงานบุญทั่วไปของชาวบ้านอีกด้วย โดยกำหนดจัดงานราชพิธีหล่อเทียนขึ้นในเดือน ๘ ของทุกปี ก่อน เข้าพรรษาสมัยนั้นการหล่อเทียนใช้หล่อด้วยขี้ผึ้งทั้งสิ้น ในปีหนึ่ง ๆ จะใช้ขี้ผึ้งเป็นจำนวนมากทั้งนี้เนื่องจากบรรดาวัดต่าง ๆ ที่เป็น วัดหลวงทุกวัด จะได้รับพระราชทานเทียนพรราวัดละ ๑ เล่ม หรือมากกว่านั้นทุก ๆ วัด จำนวนเทียนที่หล่อจึงมีมากขึ้น
กล่าวกันว่าประมาณปลายรัชการที่ ๓ ต้องหล่อเทียนจำนวนถึง ๒๐๐ เล่ม จึงจะมีจำนวนมากพอที่จะนำไปถวายวัดต่าง ๆ ได้ อย่างทั่วถึง ซึ่งการหล่อเทียนแต่ละเล่มสมัยนั้น ต้องใช้ขี้ผึ้งในการหล่อเทียนหนักถึง ๑๖ ชั่ง ปีหนึ่ง ๆ จะใช้ขี้ผึ้งจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อถึง เวลาที่หล่อเทียนทางสำนักพระราชวัง จำบอกบุญไปยังพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เจ้าภาษี นายอากร และ ขุนนางฝ่ายต่าง ๆ เป็นต้น ให้นำขี้ผึ้งมาช่วยกันหล่อเทียน จึงสำเร็จลงได้
มูลเหตุที่ต้องมีการหล่อเทียนนั้นก็เนื่องมาจากในฤดูฝน หรือที่เรียกกันว่า "ฤดูการเข้าพรรษา" คือช่วงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ นั้น กำหนดให้พระภิกษุทั้งหลายต้องงเข้าอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดระยะเวลา ๓ เดือน พระภิกษุสงฆ์ที่ต้อง อยู่จำพรรษาในพระอารามระหว่างนั้นมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำ มีความจำเป็นต้องใช้เทียนไว้สำหรับ จุดบูชาให้ตลอดพรรษา พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันหล่อเทียน สำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ได้จุดบูชาตลอด ๓ เดือนของกำหนดเวลาเข้าพรรษา จึงเรียกเทียนที่หล่อ ขึ้นนี้ว่า "เทียนพรรษา" หรือ "เทียนจำนำพรรษา"
พิธีหล่อเข้าเทียนพรรษา มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้นโบราณ เพราะเมื่อสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้อย่างในปัจจุบัน เวลาพระภิกษุสามเณรจะสวดมนต์ท่องตำรา ต้องอาศัยแสงสว่างจากคบ ตะเกียง และเทียนไขชาวบ้านจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนถวาย โดยการเรี่ยไรขี้ผึ้งจากผู้มีจิตศรัทธา เมื่อมีมากพอแล้วจึงทำการหล่อที่วัดหรือสถานที่จัดงาน ทำการตกแต่งประดับประดาและแกะสลักลวดลาย มีการประกวดความสวยงามกันอย่างสนุกสนานครื้นเครง
ก่อนถึงวันเข้าพรรษา 1 วัน จะจัดให้มีการฉลองต้นเทียน กลางคืนมีมหรสพ นิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์ วึ่งพิการเหล่านี้แล้วแต่จะเห็นสมควร พอรุ่งเช้าเป็นวันเข้าพรรษาจึงทำการแห่ต้นเทียนไปถวายตามวัด
อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุ ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า เหมือนดังแสงเทียนที่สว่างในยามค่ำคืน ซึ่งพระภิกษุสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจของสงฆ์ แหล่งข้อมูล///Posted by สุธีโร