กองการศึกษา
โอทอป สินค้าชุมชน
สถานที่ท่องเที่ยว
กระดานเสวนา
ติดต่อ-สอบถาม
หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนย์ข้อมูล
Data Center
 
  องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ :www.thepruksa.go.th
 
 



ภาพข่าวกิจกรรม
 


โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) ปี2565


โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ชื่อโครงการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก  องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา                                           

ผู้ดำเนินโครงการหลัก  สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา

เบอร์โทรศัพท์ส่วนราชการ 0-4488-5540

ความเป็นมาของโครงการฯ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิดร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลทรัพยากรให้แพร่หลาย สามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตั้งแต่เมื่อครั้งปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ที่ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์ต้นยางนาและทรงให้รวบรวมพืชพันธุ์ไม้ของภาคต่างๆ ทั่วประเทศปลูกไว้ในสวนจิตรลดา โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวพระราชดำริ และสืบสานพระราชปณิธานแห่งพระองค์ โดยปรากฏในรูปแบบกิจกรรมต่างๆประกอบด้วยกิจกรรมปกปักทรัพยากรในพื้นที่ป่าธรรมชาติการสำรวจรวบรวมทรัพยากรที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมเพาะปลูกและรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพ และปลอดภัยจากการรุกราน การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร โครงการศึกษาประเมินทรัพยากรในด้านต่างๆ ให้ทราบองค์ประกอบ คุณสมบัติ และการใช้ประโยชน์พืชพรรณ การจัดทำระบบข้อมูลทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์ การวางแผนและพัฒนาทรัพยากรระยะยาว ๓๐ - ๕๐ ปี และกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ เยาวชน บุคคลทั่วไป ให้มีความเข้าใจตระหนักในความสำคัญเกิดความปิติและสำนึกที่จะร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์พืชพรรณของไทยให้คงอยู่เป็นทรัพยากร อันทรงคุณค่าประจำชาติสืบไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ที่เกี่ยวกับ "ปัจจัยสี่" อันเป็นพื้นฐานหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ จึงนับได้ว่าพันธุ์ไม้เหล่านี้ มีความผูกผันกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านานนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปประโยชน์ที่เคยได้รับจากพรรณพืชอาจแปรไปตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ความต้องการของสังคม และผู้บริโภค การสำรวจค้นคว้าและวิจัยตามหลักวิทยาการสมัยใหม่เกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ ดังที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ จึงสามารถทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิด ซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลงและเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิด พืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลยหรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย

1. หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ มีหนังสือที่ สร 0023.3/ว 245 ลงวันที่ 14  มีนาคม 2562 เรื่องการตอบรับสมาชิก “งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น” โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดสุรินทร์ (อพ.สธ.) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทราบ และสร้างความเข้าใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมัครเข้าร่วมสนองพระราชดำริ ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ สำรวจ ศึกษา จัดทำศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช ปลูกฝังสร้างให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกในกาอนุรักษ์พันธุกรรมพืช รวมทั้งสร้างสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายระดับต่างๆในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ นั้น

องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในท้องถิ่นและเพื่อสนองพระราชดำริโครงการฯ ได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมตามแผนแม่บทให้ครบทั้ง 8 กิจกรรมของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นกิจกรรมที่มีแนวปฏิบัติให้คณะทำงานกิจกรรม สำรวจทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งคณะทำงานมีหน้าที่ เก็บรวบรวมพันธุกรรมทรัพยากรชีวภาพ ในพื้นที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนา เช่น การทำอ่างเก็บน้ำ ทำถนน หรือการทำโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ซึ่งพันธุกรรมในพื้นที่เหล่านั้นจะสูญไป

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)

2. เพื่ออนุรักษ์พืชพรรณและความหลากหลายทางชีวภาพของตำบลเทพรักษา

3. เพื่อนำความรู้จากการศึกษาวิจัยพืชพรรณและความหลากหลายทางชีวภาพการศึกษาทรัพยากรกายภาพ การสำรวจและบันทึกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนตำบลเทพรักษา เพื่อสร้างฐานองค์ความรู้ทางวิทยาการ ที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ และพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เศรษฐกิจพอเพียง

4. เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และทรัพยากรธรรมชาติ รักษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

5. เพื่อจัดทำศูนย์การเรียนรู้และรวบรวมข้อมูลพันธุกรรมพืชรวมทั้งทรัพยากรอื่นๆ ได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ, ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่อเผยแพร่ให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจ

3. ความสอดคล้องตามประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดด้าน:

£ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มศักยภาพภาคการเกษตร

£ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและบริการ

R ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

£ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

£ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 เสริมสร้างความมั่นคง

4. กลุ่มเป้าหมาย

- คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ : ผู้นำชุมชน ผู้แทนกลุ่มและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตำบลเทพรักษา

- จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ : 13 หมู่บ้าน

5. พื้นที่ดำเนินการ / แผนดำเนินการ

5.1 พื้นที่ดำเนินการ : ป่าชุมชนของหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลเทพรักษาทั้ง 13 หมู่บ้าน

5.2 แผนการดำเนินการ :  แนวทางการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานของแผนแม่บท อพ.สธ.