กองการศึกษา
โอทอป สินค้าชุมชน
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่พัก
กระดานเสวนา
หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนย์ข้อมูล
Data Center
 
  องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ :www.thepruksa.go.th
 
 



รายงานผลการดำเนินงาน

รายงานผลดำเนินโครงการอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน
    รายละเอียดข่าว :

รายงานผลดำเนินโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน

ตัวชี้วัดและค่าคะแนนของโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด

ตามมิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ (ตัวชี้วัดที่ 6)

 กิจกรรมรณรงค์เนื่องใน “วันสิ่งแวดล้อมโลก” 5 มิถุนายนของทุกปี

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ความเป็นมาของปัญหา

เมื่อปี 2563 องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษารับแจ้งเรื่องร้องเรียน เรื่องมลพิษจากฝุ่นละออง แหล่งน้ำเน่าเสีย ทำให้ปลาในกระชังที่ประชาชนเลี้ยงในบ่อตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีลานรับซื้อยางพาราตั้งอยู่ และได้มีการร้องเรียนกรณีเดียวกันเข้ามาอีกหลายครั้งในช่วงปีดังกล่าว ซึ่งปัญหาร้องเรียนกรณีนี้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้รับการร้องเรียนเช่นเดียวกัน โดยจะได้รับเรื่องในช่วงเวลาเดียวกันของทุกปี ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าปัญหาน้ำเน่าเสียเกิดจากการปล่อยน้ำเสียจากร้านค้าชุมชนแหล่งรับซื้อผลผิตการเกษตร เพื่อระบายน้ำลงสู่แม่น้ำธรรมชาติ ทำให้สารเคมีได้ปนเปื้อนกับน้ำไหลสู่แม่น้ำลำคลองโดยเฉพาะห้วยเสนถือเป็นแหล่งน้ำสำคัญของตำบลเทพรักษาที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชการเกษตร ด้านขยะมูลฝอยในชุมชนก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ได้มีการร้องเรียนมายังองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนจากการลักลอบทิ้งขยะตามที่สาธารณะต่างๆ รวมทั้งปัญหามลพิษทางอากาศจากการเผาเศษวัสดุที่เหลือจากการทำการเกษตรเช่น การเผาตอซัง การเผาอ้อย เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ได้สร้างฝุ่นละอองและค่า PM ที่สูงขึ้นทำให้เกิดโลกร้อนและก๊าซเรือนกระจกตามมา

หลักการและเหตุผล

ด้วยในปัจจุบันพบปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านขยะในชุมชนด้านป่าไม้และแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีการใช้สารเคมีในพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง ไม้ผล ฯลฯ ตามสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ส่งผลกระทบให้พื้นที่ทำการเกษตร เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมปนเปื้อนสารเคมี ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งและปัญหาภาวะโลกร้อน นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับความร่วมมือและร่วมใจกันระหว่างประชาชน หน่วยงานภาครัฐบาล ภาคเอกชน ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือ ร่วมใจกันให้ความสนใจและให้ความสนับสนุนอย่างจริงจังต่อเนื่อง ประกอบกับความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำในคลองต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลองต่างๆที่อยู่ในเขตชุมชนของตำบลเทพรักษาที่เป็นปัญหาสะสมมานาน ทำให้ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภคได้อย่างเต็มที่และเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำให้สูญเสียความสวยงามของทัศนียภาพของริมฝั่งลำน้ำ ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชนดั้งเดิมของตำบลเทพรักษา ที่เหมาะจะส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ปัญหาของคุณภาพน้ำในคลองเกิดจากคลองเป็นที่รองรับน้ำเสียและของเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่นบ้านเรือน แหล่งชุมชน และอาคารสถานประกอบการต่างๆ ที่ทิ้งลงมาโดยไม่ได้รับการบำบัด จึงมีผลทำให้ไม่สามารถ

ที่จะนำน้ำในคลองไปใช้เพื่อประโยชน์อื่นใดได้นอกจากเพื่อการเกษตรเท่านั้น และคูคลองบางสายมักจะตื้นเขิน เมื่อถึงฤดูฝนก็ไม่สามารถระบายน้ำได้ทันจึงเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชุมชน และบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ริมคลอง โครงการส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเป็นโครงการที่พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน นั้น

องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ในฐานะองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนในชุมชนมากที่สุด  โดยได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 6 พ.ศ.2552  มาตรา 67 (ข้อ 2) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (2) ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ จึงได้จัดโครงการอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดของจังหวัดสุรินทร์และภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ปรากฏตามแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (2561 - 2564) องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

วัตถุประสงค์

1. สำรวจและตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ตำบลเทพรักษา

2. กำหนดมาตรการและแผนงานดำเนินการป้องกัน ลด และแก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้านและดำเนินงานตามแผนงานโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ทั้ง 13 ชุมชน

4. จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านต่างๆ อาทิด้านมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ขยะในชุมชนและการลดใช้สารเคมีในการทำการเกษตร

เป้าหมายและพื้นที่ดำเนินการ

1. จัดกิจกรรมรณรงค์ดูแล อนุรักษ์ ฟื้นฟู สภาพแหล่งน้ำ คู คลอง ที่เสื่อมโทรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา จำนวน 13 ชุมชน และพื้นที่ทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา โดยบูรณการร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ

2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา จำนวน 13 ชุมชน และพื้นที่ทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา โดยบูรณการร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ

3. ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงาน/ลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ผู้นำชุมชนกลุ่มต่าง ๆ ทั้ง 13 ชุมชน ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน กลุ่มสตรี คณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลเทพรักษา นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาชนทุกภาคส่วน เป็นต้น

ระยะเวลาดำเนินงาน

วันที่ 5 มิถุนายน 2564 เนื่องใน “วันสิ่งแวดล้อมโลก”

วิธีการดำเนินงาน

- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา จำนวน 13 ชุมชน

- จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ขยะในชุมชนและการลดใช้สารเคมีในการทำการเกษตร

งบประมาณและค่าใช้จ่ายในโครงการ

ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕65 ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนงานเกษตร หมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ โครงการอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้านที่ปรากฏตามแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.๒๕61 – ๒๕64) หน้าที่ 167 ข้อที่ 1

ผู้รับผิดชอบโครงการ

หน่วยงานหลัก องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

1. มีข้อมูลจากการสำรวจและตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ตำบลเทพรักษา

2. นำข้อมูลที่ได้สำรวจมากำหนดมาตรการและแผนงานดำเนินการป้องกัน ลด และแก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้านและดำเนินงานตามแผนงานโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

3. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจจากกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ทั้ง 13 ชุมชน

4. ประชาชนได้รับข่าวสารความรู้จากกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านต่างๆ อาทิด้านมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ขยะในชุมชนและการลดใช้สารเคมีในการทำการเกษตร

แนวทางการประเมินโครงการ

ผลสัมฤทธิ์หลัก

ตัวชี้วัด

น้ำหนัก

ระดับค่าเป้าหมาย

เหตุผล

ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

ระดับ 4

ระดับ 5

 

- กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน

ร้อยละจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1

50-59

60-69

70-79

80-89

90ขึ้นไป

วัดโดยใช้เกณฑ์จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

-  กิจกรรมรณรงค์เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน

ร้อยละเป้าหมายจำนวนหมู่บ้าน

2

50-59

60-69

70-79

80-89

90ขึ้นไป

วัดโดยใช้เกณฑ์จากจำนวนเป้าหมายหมู่บ้าน

 

- ตัวชี้วัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน วัดโดยใช้เกณฑ์จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป้าหมายตามโครงการประกอบด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงาน/ลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ผู้นำชุมชนกลุ่มต่าง ๆ ทั้ง 13 ชุมชน ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน กลุ่มสตรี คณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลเทพรักษา นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาชนทุกภาคส่วน จำนวน 130 คน มีผู้มาอบรมเต็มจำนวนทั้ง 130 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ระดับค่าเป้าหมายระดับ 5 ค่าคะแนน 90 ขึ้นไป

- ตัวชี้กิจกรรมรณรงค์เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน วัดโดยใช้เกณฑ์จากจำนวนเป้าหมายหมู่บ้านร้อยละเป้าหมายจำนวนหมู่บ้าน ตำบลเทพรักษาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน จากการเดินขบวนรณรงค์ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายโรงเรียน

 

 

ระดับความสำเร็จของโครงการดีเด่นตามเกณฑ์การบริหารจัดการที่ดี

1. ความโดดเด่นและความยุ่งยากหรือข้อจำกัดของโครงการ

1.1 ลักษณะโดเด่นของโครงการ

- เป็นโครงการที่องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ได้ริเริ่มขึ้นมาใหม่ โดยโครงการอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน เป็นโครงที่ดำเนินการเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2565

- เป็นโครงการที่มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษภายในชุมชนโดยการอบรมให้ความรู้ และให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมรณรงค์อาทิ ชุมชน โรงเรียน และกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ

- เป็นโครงที่ที่ได้ร่วมบูรณการร่วมกันตั้งแต่ 2  หน่วยงานขึ้นไป เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์ ชุมชนทั้ง 13 แห่ง  โรงเรียนทั้ง 7 แห่ง และสถานีตำรวจภูธรดม

- เป็นโครงการที่สามารถเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่นได้

1.2 ความยุ่งยากหรือข้อจำกัดของโครงการ

- ต้องทำความตกลงหรือขอความร่วมมือกับประชาชน

- ต้องบริหารภายใต้โครงการข้อจำกัดงบประมาณ เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงโดยเฉพาะกิจกรรมรณรงค์กลุ่มเป้าหมายได้รับความร่วมมือจากชุมชน โรงเรียนและหน่วยงานภาครัฐได้ร่วมมอกันแสดงพลังออกมาเดินรณรงค์กันเกินจำนวนกลุ่มเป้าหมายตามโครงการฯ

- เป็นโครงการที่มีความยุ่งยากเนื่องจากต้องประสานงานและขออนุญาตหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมเช่น สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์

2. ประโยชน์ของโครงการต่อประชาชนและสังคม

2.1 จำนวนประชาชนและกลุ่มเป้าหมาย

1. ตัวชี้วัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน วัดโดยใช้เกณฑ์จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป้าหมายตามโครงการประกอบด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงาน/ลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ผู้นำชุมชนกลุ่มต่าง ๆ ทั้ง 13 ชุมชน ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน กลุ่มสตรี คณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลเทพรักษา นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาชนทุกภาคส่วน จำนวน 130 คน มีผู้มาอบรมเต็มจำนวนทั้ง 130 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ระดับค่าเป้าหมายระดับ 5 ค่าคะแนน 90 ขึ้นไป

2. ตัวชี้กิจกรรมรณรงค์เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน วัดโดยใช้เกณฑ์จากจำนวนเป้าหมายหมู่บ้านร้อยละเป้าหมายจำนวนหมู่บ้าน ตำบลเทพรักษาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน จากการเดินขบวนรณรงค์ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่

2.2 การประเมินความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการดำเนินโครงการ

- มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินและรายงานผลการประเมินความพึงพอใจ

แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจโครงการ

ประเด็นการประเมินด้านวิทยากร

1. การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน  ร้อยละ 77.2

2. ความสามารถในการอธิบายเนื้อหา ร้อยละ 80.8

3. มีความครบถ้วนของเนื้อหาในการฝึกอบรม ร้อยละ 69.2

4. การตอบข้อซักถามในการฝึกอบรม ร้อยละ 75

ประเด็นการประเมินสถานที่จากผู้เข้ารับการอบรม

1. สถานที่สะดวกและมีความเหมาะสม ร้อยละ 73.6

2. ความพร้อมของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ร้อยละ 77

3. ระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม ร้อยละ 76

4. อาหาร มีความเหมาะสม ร้อยละ 75.2

ประเด็นการประเมินด้านความรู้ความเข้าใจ

1. ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้ ก่อน การอบรม ร้อยละ 68.8

2. ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้ หลัง การอบรม ร้อยละ 76.2

ประเด็นการประเมินด้านการนำความรู้ไปใช้

1. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ ร้อยละ 78

2. มีความมั่นใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้ ร้อยละ 76

3. สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้ ร้อยละ 76

สรุปความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมและรณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ ร้อยละ 75.35

2.3 การนำผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนไปปรับปรุงการปฏิบัติงาน

- ข้อเสนอแนะและปัญหาในการดำเนินโครงการ

1. เห็นควรให้องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา เลือกช่วงเวลาในการดำเนินโครงการในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนของทุกปีเนื่องด้วยในช่วงเวลาดังกล่าวประชาชนเสร็จภารกิจจากงานงานนา

2. ให้องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา จัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการให้เพียงพอ เนื่องด้วยการดำเนินงานโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์มีผู้เข้าร่วมโครงการเกินจากเป้าหมายที่กำหนดไว้

2.4 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ได้รายงานผลดำเนินโครงการ และเผยแพร่กิจกรรมตามโครงการทางเว็บไซต์และแฟนเพจขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา

2.5 เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชนหน่วยงาน องค์กรต่างพื้นที่

- บันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลเทพรักษา

- หน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนในพื้นที่ตำบลเทพรักษา และโรงงานน้ำตาลสุรินทร์

3 ความคุ้มค่าและความยั่งยืนของโครงการ

3.1 ด้านการใช้จ่ายงบประมาณ

- มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามโครงการแต่ได้ผลสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด รายละเอียดค่าใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการดังนี้ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติตามโครงการ 20,000 บาท โอนเพิ่มจำนวน 5,000 บาท  โดยใช้จ่ายในการฝึกอบรมจำนวน 16,900 บาท และกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ จำนวน 3,250 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 24,110 บาท ยอดคงเหลือตามงบประมาณ 890 บาท คิดเป็นร้อยละ 3

3.2 ความยั่งยืนของโครงการ

- มีการจัดตั้งหน่วยงานเข้ามารับผิดชอบโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยการทำบันทึกตกลง (MOU)

- มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของตัวชี้วัด ได้แก่กลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตำบลเทพรักษา กลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

4. การมีส่วนร่วมของประชาชน

4.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับรู้ ร่วมคิด/ร่วมวางแผนและร่วมดำเนินโครงการ

- ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการปฏิบัติงานและมีส่วนร่วมการตัดสินใจบางขั้นตอนของการดำเนินโครงการ มีการประชุมวางแผนก่อนการดำเนินโครงการโดยผ่านตัวแทนของแต่ละหน่วยงานเพื่อกำหนดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ

4.2  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการ

- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินโครงการโดยมีประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการ

- มีการติดตามประเมินผลโครงการโดยคณะกรรมการ

- มีการติดตามผลประเมินผลโดยเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตำบลเทพรักษา

 

ขอขอบคุณบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการและประเมินกิจกรรมบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด  ซึ่งได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา และผู้เกี่ยวข้อง สำหรับใช้ในการพัฒนางาน ให้มีความก้าวหน้าต่อไป

    เอกสารประกอบ : รายงานผลดำเนินโครงการอบรมให้ความรู้แก้ไขปัญหามลพิษภายในหมู่บ้าน
 
    วันที่ลงข่าว
: 8 มิ.ย. 2565
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา




- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 963481 คน ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2561 - ปัจจุบัน