กองการศึกษา
โอทอป สินค้าชุมชน
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่พัก
กระดานเสวนา
หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนย์ข้อมูล
Data Center
 
  องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ :www.thepruksa.go.th
 
 



รายงานผลการดำเนินงาน

สรุปผลดำเนินกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
    รายละเอียดข่าว :

สรุปรายงานผลกิจกรรม/โครงการ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

ใบงานที่ 8 เรื่องการเก็บข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

 

ความเป็นมาของโครงการฯ

องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ได้รับทราบการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ที่ทรงสืบทอดงานอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่9 มีความศรัทธาในพระราชดำริที่ทรงทำเพื่อผลประโยชน์แท้ แก่มหาชนชาวไทย จึงได้ร่วมประชุมทุกภาคส่วนในตำบลเทพรักษา ในการที่จะสนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากร ทั้งทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาเพื่อที่จะอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรตำบลเทพรักษาอย่างยั่งยืนสู่เศรษฐกิจพอเพียง ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) ตามหนังสือที่ สร 73401/541 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 และได้ตอบรับการเป็นสมาชิกลำดับที่ 2 หนังสือที่ออก ที่ พว 0011(อพ.)  /2561 ลงวันที่ เดือนตุลาคม 2561

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิดร่วมปฏิบัติที่นำผล ประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลทรัพยากรให้แพร่หลาย สามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตั้งแต่เมื่อครั้งปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ที่ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์ต้นยางนาและทรงให้รวบรวมพืชพันธุ์ไม้ของภาคต่างๆ ทั่วประเทศปลูกไว้ในสวนจิตรลดา โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวพระราชดำริ และสืบสานพระราชปณิธานแห่งพระองค์ โดยปรากฏในรูปแบบกิจกรรมต่างๆประกอบด้วยกิจกรรมปกปักทรัพยากรในพื้นที่ป่าธรรมชาติการสำรวจรวบรวมทรัพยากรที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวด ล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมเพาะปลูกและรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพ และปลอดภัยจากการรุกราน การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร โครงการศึกษาประเมินทรัพยากรในด้านต่างๆ ให้ทราบองค์ประกอบ คุณสมบัติ และการใช้ประโยชน์พืชพรรณ การจัดทำระบบข้อมูลทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์ การวางแผนและพัฒนาทรัพยากรระยะยาว ๓๐ - ๕๐ ปี และกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรแก่กลุ่ม เป้าหมายต่างๆ ได้แก่ เยาวชน บุคคลทั่วไป ให้มีความเข้าใจตระหนักในความสำคัญเกิดความปิติและสำนึกที่จะร่วม มือร่วมใจกันอนุรักษ์พืชพรรณของไทยให้คงอยู่เป็นทรัพยากร อันทรงคุณค่าประจำชาติสืบไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ที่เกี่ยวกับ "ปัจจัยสี่" อันเป็นพื้นฐานหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ จึงนับได้ว่าพันธุ์ไม้เหล่านี้ มีความผูกผันกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านานนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปประโยชน์ที่เคยได้รับจากพรรณพืชอาจแปรไปตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ความต้องการของสังคม และผู้บริโภค การสำรวจค้นคว้าและวิจัยตามหลักวิทยาการสมัยใหม่เกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ ดังที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ จึงสามารถทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิด ซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์

แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลงและเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิด พืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลยหรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และส่งเสริมการใช้ทรัพยากร สมุนไพรในการรักษาโรคสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (สืบสานภูมิปัญญาแพทย์ท้องถิ่นหมอพื้นบ้าน ) ใบงานที่ 8 เรื่องการเก็บข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อเก็บข้อมูล สำรวจ ฐานทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลเทพรักษา ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทพรักษา สรุปกิจกรรมได้ดังนี้

ลักษณะ ประเภท กรรมวิธีของภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลเทรักษาด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน

ลักษณะการเป็นหมอพื้นบ้านแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

ลักษณะที่ 1 เป็นหมอพื้นบ้านที่มีประสบการณ์รักษาโรคจากเหตุการณ์หรือประสบการณ์เฉพาะ ที่เป็นไปตามความเชื่อและศรัทธาของมนุษย์ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับอำนาจเหนือธรรมชาติ (ผีและอำนาจศักดิ์สิทธิ์) และพิธีกรรมในการรักษาโรค เช่น คนทรง หมอรำผีฟ้าและเฒ่าจ้า ของชาวอีสาน หมอขวัญในหลายชาติพันธุ์ หมอเหยาของชาวผู้ไท หมอมะม็วดของชาวเขมร เป็นต้น ในชุมชนหมอบางคน มีความสามารถทั้งสองลักษณะช่วยรักษาโรคทางกายและทางใจให้กับชาวบ้าน

ลักษณะที่ 2 เป็นหมอพื้นบ้านที่เรียนรู้และฝึกฝนความชำนาญจากการปฏิบัติ มีการเรียนวิชาจากครูหมอพื้นบ้านคนเดียวหรือหลายคน และอาจมีการศึกษาเพิ่มเติมจากตำราพื้นบ้านหรือคัมภีร์ใบลาน เช่น หมอยาสมุนไพร หมอนวด หมอตำแย หมอกระดูก หมองู เป็นต้น

ประเภทของหมอพื้นบ้าน

1) หมอตำแย คือ ผู้ที่มีความชำนาญในการดูแลสุขภาพในกลุ่มหญิงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ระยะคลอด และการดูแลช่วงหลังคลอด รวมถึงการดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กทารก

2) หมอยาสมุนไพร คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการใช้สมุนไพรรักษาโรคหรือส่งเสริมและดูแลสุขภาพ โดยใช้กรรมวิธีตามภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้รับสืบทอดมา ทั้งนี้อาจมีการพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อความสะอาดและปลอดภัย โดย สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์ จุลชีพ และธาตุวัตถุ

3) หมอนวดพื้นบ้าน คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ในการใช้แรงสัมผัสต่อร่างกายด้วยการใช้อวัยวะเครื่องมือหรือสมุนไพร เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด เมื่อยล้าทางร่างกาย หรือปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างร่างกาย

4) หมอกระดูก คือ ผู้ที่มีความชำนาญดูแลรักษาอาการเจ็บป่วย การบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูกแตก หัก หรือ เคลื่อน

5) หมอรักษาสัตว์พิษกัด คือ ผู้ที่มีความชำนาญในการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสัตว์ เช่น งู ต่อ แตน ผึ้ง ตะขาบ แมงปุอง แมงมุม เป็นต้น

6) หมอพิธีกรรม คือ ผู้ที่มีประสบการณ์รักษาโรคจากเหตุการณ์หรือประสบการณ์เฉพาะเป็นไปตามความเชื่อและศรัทธาของมนุษย์ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ผี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพลังจิต เป็นต้นเพื่อบำบัดดูแลสภาพร่างกายและจิตใจ

    เอกสารประกอบ : สรุปผลดำเนินกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
 
    วันที่ลงข่าว
: 29 พ.ย. 2565
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา




- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 963491 คน ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2561 - ปัจจุบัน